ศาลเจ้าจีน ในกรุงเทพฯ
ศาลเจ้าจีน ในกรุงเทพฯ
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
- Author : ผศ.ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
- ISBN :9789740216230
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 266
- ขนาดไฟล์ : 32.64 MB
ศาลเจ้าจีน ในกรุงเทพฯ
ภาพสะท้อน "จีนโพ้นทะเล" ผ่านสถาปัตยกรรมศาลเจ้า สมัยรัชกาลที่ 1-5
ผู้เขียน ผศ.ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
คำว่า "ชาวจีนโพ้นทะเล" สื่อถึงชาวจีนที่อพยพออกจากบ้านเกิดของตนเอง เพื่อไปตั้งหลักฐานในดินแดนอื่น โดยมีสาเหตุการอพยพหลายประการ เช่น ภาวะความแห้งแล้งและสงครามในบ้านเกิด ในปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่า ชาวจีนโพ้นทะเลรวมถึงลูกหลานของชาวจีนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่เกือบทุกมุมโลก อย่างไรก็ตามถึงแม้ชาวจีนเหล่านี้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ดินแดนใหม่ แต่มิได้ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองโดนสะท้อนผ่านภาษาพูด อาหาร และประเพณี เป็นต้น ทั้งนี้ ศาลเจ้าที่ชาวจีนเหล่านี้สร้างขึ้นก็เป็นสิ่งสะท้อนตัวตนด้วยเช่นกัน!
เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ภูมิหลังของชาวจีนและศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ รูปแบบสถาปัตยกรรมของศาลเจ้าแต่ละกลุ่มภาษา และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบศาลเจ้าของแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้การศึกษาพบว่าศาลเจ้าหลายแห่งยังสะท้อนรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลัษณ์ของกลุ่มภาษา บางแห่งสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างงานศิลปกรรมของตนเองกับศิลปกรรมแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ศาลเจ้าบางแห่งเป็นศาลเจ้าเก่าแก่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในภายหลังทำให้รูปแบบศิลปกรรมดั้งเดิมที่แสดงความเป็นตัวตนของกลุ่มภาษาหายไปอย่างน่าเสียดาย..
สารบัญ
ชาวจีนและศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1-5
- ภูมิหลังของกลุ่มชาวจีนในกรุงเทพฯ
- ความเป็นอยู่ของชาวจีนในกรุงเทพฯ : การตั้งชุมชนและรวมกลุ่ม
- ความสัมพันธ์ระหว่างศาลเจ้าและชุมชนชาวจีน
สถาปัตยกรรมในศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1-5
- เอกลักษณ์ร่วมกัน
- ศาลเจ้าจีนของชาวแต้จิ๋ว
- ศาลเจ้าจีนของชาวฮกเกี้ยน
ฯลฯ
ภาพสะท้อนชาวจีนอพยพผ่านสถาปัตยกรรมศาลเจ้าในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1-5
- การสืบทอดรูปแบบสถาปัตยกรรมจากถิ่นกำเนิดของชาวจีนแต่ละกลุ่มภาษา
- การเปิดรับวัฒนธรรมจากกลุ่มภายนอกของชาวจีนแต่ละกลุ่มภาษา