การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย: สวัสดิการแรงงานและการประยุกต์ใช้สังคมสงเคราะห์ในอุตสาหกรรม
การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย: สวัสดิการแรงงานและการประยุกต์ใช้สังคมสงเคราะห์ในอุตสาหกรรม
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Author : ธัญญาลักษณ์ วีระสมบัติ
- ISBN :9786163147868
- ภาษา : ไทย
- จำนวนหน้า : 337
- ขนาดไฟล์ : 9.22 MB
นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจในปี 2504 การพัฒนาอุตสาหกรรมถูกกำหนดให้เป็นทิศทางสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยมาโดยตลอดทิศทางนี้ก่อให้เกิดผลดีในแง่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในอดีต อย่างไรก็ตามส่งผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นกับคุณภาพชีวิตของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการใช้แรงงานราคาถูกจำนวนมากเมื่อในอดีต กระบวนการผลิตที่เน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยใช้นวัตกรรม ในขณะที่ประเทศไทยยังมีปัญหาแรงงานในหลายมิติ อาทิ ปัญหาปริมาณแรงงานไม่เพียงพอ คุณภาพแรงงาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และที่สำคัญคือ ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงาน เช่น ปัญหาการทำงานหนัก ปัญหางานอันตราย และโรคจากการทำงาน เป็นต้น แม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและสมาทานที่จะปฏิบัติตามแนวคิดงานที่มีคุณค่า(decent work) แต่ก็ยังพบปัญหาการใช้แรงงานและสถานการณ์ที่ลดทอนความสำคัญและอำนาจต่อรองของแรงงานมาโดยตลอด
นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจในปี 2504 การพัฒนาอุตสาหกรรมถูกกำหนดให้เป็นทิศทางสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยมาโดยตลอดทิศทางนี้ก่อให้เกิดผลดีในแง่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในอดีต อย่างไรก็ตามส่งผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นกับคุณภาพชีวิตของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการใช้แรงงานราคาถูกจำนวนมากเมื่อในอดีต กระบวนการผลิตที่เน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยใช้นวัตกรรม ในขณะที่ประเทศไทยยังมีปัญหาแรงงานในหลายมิติ อาทิ ปัญหาปริมาณแรงงานไม่เพียงพอ คุณภาพแรงงาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และที่สำคัญคือ ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงาน เช่น ปัญหาการทำงานหนัก ปัญหางานอันตราย และโรคจากการทำงาน เป็นต้น แม้ประเทศไทยจะเป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและสมาทานที่จะปฏิบัติตามแนวคิดงานที่มีคุณค่า(decent work) แต่ก็ยังพบปัญหาการใช้แรงงานและสถานการณ์ที่ลดทอนความสำคัญและอำนาจต่อรองของแรงงานมาโดยตลอด