คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
1/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : ปริศนา ปิยะพันธ์
  • ISBN :9786163147615
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 180
  • ขนาดไฟล์ : 28.49 MB
การรักษาสมดุลของร่างกายหรือภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นหัวใจสำคัญของวิชาสรีรวิทยาและเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนและการประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องจากการเกิดโรคมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาสมดุลของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้นเพื่อที่จะเข้าใจพยาธิสภาพของโรค นักศึกษาจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกลไกการรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติซึ่งได้อธิบายในบทที่ 1 ของตำรา เล่มนี้ การรักษาสมดุลของร่างกายอาศัยการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติเป็นหลัก ในบทที่ 2 จึงได้อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนวัติและบทบาทหน้าที่ในการควบคุมสมดุลของร่างกาย นอกจากสมดุลของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแล้ว สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองก็มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่นกัน โดยเฉพาะโรคทางจิตเวช ในบทที่ 3 และ 4 จึงมีเนื้อหาว่าด้วยสมดุลของสารสื่อประสาทชนิดต่างๆ ในสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชที่สำคัญ ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วและโรคจิตเภท เป็นต้น นอกจากนี้ยังสรุปหน้าที่ของสารสื่อประสาทในสมองและบทบาทของสารสื่อประสาทเหล่านี้ในการควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ ระดับความรู้สึกตัว วงจรการหลับ/ตื่นในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
การรักษาสมดุลของร่างกายหรือภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นหัวใจสำคัญของวิชาสรีรวิทยาและเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนและการประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องจากการเกิดโรคมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาสมดุลของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้นเพื่อที่จะเข้าใจพยาธิสภาพของโรค นักศึกษาจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกลไกการรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติซึ่งได้อธิบายในบทที่ 1 ของตำรา เล่มนี้ การรักษาสมดุลของร่างกายอาศัยการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติเป็นหลัก ในบทที่ 2 จึงได้อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนวัติและบทบาทหน้าที่ในการควบคุมสมดุลของร่างกาย นอกจากสมดุลของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแล้ว สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองก็มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่นกัน โดยเฉพาะโรคทางจิตเวช ในบทที่ 3 และ 4 จึงมีเนื้อหาว่าด้วยสมดุลของสารสื่อประสาทชนิดต่างๆ ในสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชที่สำคัญ ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วและโรคจิตเภท เป็นต้น นอกจากนี้ยังสรุปหน้าที่ของสารสื่อประสาทในสมองและบทบาทของสารสื่อประสาทเหล่านี้ในการควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ ระดับความรู้สึกตัว วงจรการหลับ/ตื่นในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ